ร้านค้าออนไลน์ กับความน่าเชื่อถือ

การขายสินค้าบนอิเตอร์เน็ตในปัจจุบันได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะตาม Social Media ต่างๆ ซึ่งเหตุผลที่ Social Media ได้รับความนิยม เพราะว่าใครก็ตามที่อยากขายสินค้า สามารถเปิดได้ทันที เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่าย
ถ้าพิจารณาในมุมมองของผู้บริโภคเกี่ยวกับการซื้อสินค้าจากเพจในลักษณะนี้ พบว่ามีความเสี่ยงในการที่จะถูกโกงค่อนข้างสูง เนื่องจาก Social Media เป็นเพียงหน้าเพจ ที่ผู้ขายจะใส่ข้อมูลอะไรลงไปก็ได้ และ URL ในการเข้าถึงข้อมูลก็เป็นเพียง User จากเว็บหลัก ไม่ได้มีการแสดงตัวตนของผู้ขายอย่างแท้จริง หากเกิดปัญหาสามารถปิดเพจได้ตลอดเวลา ที่สำคัญคือ วิธีการชำระเงินจะเป็นแบบโอนเงินเข้าบัญชี ตามเลขที่ผู้ขายแจ้งให้เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการซื้อสินค้าครั้งแรกของผู้บริโภคจากผู้ขายใน Social Media ถือเป็นการวัดใจผู้ขายไปในตัว
ในประเทศไทยการซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตยังนิยมใช้วิธีการจ่ายเงินแบบ เดิมๆ อยู่ คือ การโอนผ่านบัญชีธนาคาร เพราะส่วนใหญ่คิดว่าถ้าต้องชำระผ่านระบบออนไลน์ ดูเป็นเรื่องยุ่งยาก บางคนอาจคิดไปไกลว่า จะต้องมีบัตรเครดิตเท่านั้นจึงจะสามารถชำระเงินค่าสินค้าผ่านระบบออนไลน์ได้
ปัจจุบันการชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ ในระบบออนไลน์ ผู้ซื้อสินค้า ไม่จำเป็นต้องมีบัตรเครดิตแล้ว เนื่องจากผู้ให้บริการส่วนใหญ่ได้มีการพัฒนาเพิ่มช่องทางการรับชำระเงินมาก ขึ้น ซึ่งต่างจากเมื่อก่อนที่จะต้องใช้แต่บัตรเครดิตเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันจะมีตัวเลือกหลากหลาย เช่น เคาน์เตอร์ เซอร์วิส, เคาน์เตอร์ของโลตัส, เคาน์เตอร์ ธนาคารต่างๆ รวมทั้งบัตรเครดิต เป็นต้น
สำหรับผู้ขายสินค้าที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง หากมองในแง่ของความน่าเชื่อถือ ดูจะได้เปรียบมากกว่าผู้ที่ขายสินค้าผ่านระบบ Social Media เพราะอย่างน้อยก็มีชื่อเว็บไซต์ และข้อมูลต่างๆ ที่ทำให้ลูกค้าใหม่ๆ เชื่อถือได้มากกว่า แต่ผู้ขายส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยใส่ใจในข้อได้เปรียบเหล่านี้ เช่น รายละเอียดความเป็นตัวตน, รายละเอียดความเป็นมา (Story ที่จะช่วยเพิ่มการรับรู้ในคุณค่าของสินค้าและแบรนด์), ข้อมูลการติดต่อ, ช่องทางการติดต่อมีน้อย หรือบางรายไม่มีเลย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้เกิดความรู้สึกน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะกับลูกค้าใหม่ๆ ที่เพิ่งจะเคยเข้ามาในเว็บไซต์เป็นครั้งแรก
นอกจากข้อมูลต่างๆ ที่จะช่วยให้เกิดความรู้สึกน่าเชื่อถือกับผู้ซื้อหรือลูกค้าแล้ว ยังมีปัจจัยสำคัญอีกข้อหนึ่งนั่นคือ ระบบการชำระเงินออนไลน์ ซึ่งผู้ขายสินค้าบนเว็บไซต์ส่วนใหญ่มองข้าม โดยมักคิดว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก คิดว่ามีค่าใช้จ่ายสูง และไม่อยากเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการที่จะให้เว็บไซต์ขายสินค้าของเรามีระบบรับชำระ เงินออนไลน์ไม่ได้ยุ่งยากเหมือนเมื่อสมัย10 ปีที่แล้ว เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ให้บริการที่เป็นตัวกลางในการรับชำระค่าสินค้าและ บริการผ่านระบบออนไลน์ให้เลือกมากขึ้น เช่น ThaiePay, PaySbuy, PayPal, SiamPay และ PayforU.com ของค่ายยักษ์ใหญ่อย่าง ISSP เป็นต้น ที่สำคัญคือค่าใช้จ่ายไม่สูง และผู้ให้บริการบางรายไม่คิดค่าบริการรายเดือน แต่จะคิดค่าบริการแบบราย Transactions แทน คือจะคิดค่าบริการตามเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย ถ้าไม่มีการขายก็ไม่ต้องจ่ายค่าบริการ
การที่เว็บไซต์ของเรามีระบบชำระเงินออนไลน์ เป็นความมั่นใจของผู้ซื้อได้ระดับหนึ่งว่า หากเกิดปัญหาในการซื้อขาย ผู้ซื้อสามารถเคลมเงินคืน หรือแจ้งไปยังผู้ให้บริการระบบรับชำระเงินได้ เนื่องจากในขั้นตอนการสมัครใช้บริการเจ้าของเว็บไซต์จะต้องแสดงเอกสารหลัก ฐานต่างๆ ตามที่ผู้ให้บริการร้องขอ เพื่อยืนยันการมีตัวตน และสามารถตรวจสอบ ดังนั้นผู้ซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ที่มีระบบการชำระเงินผ่านระบบอนไลน์จึงได้ รับคุ้มครองโดยปริยาย ซึ่งจะต่างจากการโอนผ่านบัญชีธนาคาร เนื่องจากเป็นการโอนระหว่างบุคคลกับบุคคล ทางธนาคารจะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น อย่างดีที่สุดก็จะได้แค่สลิปหนึ่งใบไว้เป็นหลักฐาน และไปจบที่การแจ้งความ ยกเว้นการโอนเงินเข้าบัญชีที่เป็นในรูปแบบบริษัท จะมีความน่าเชื่อถือสูงเนื่องจากทางธนาคารจะมีการตรวจสอบเอกสารอย่างเข้มงวด
ดังนั้นในส่วนของผู้ซื้อ หากไม่ต้องการเสี่ยงที่จะสูญเงิน ในการซื้อสินค้าออนไลน์แต่ละครั้ง ควรตรวจสอบข้อมูลการชำระเงินให้ดี ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกชำระผ่านระบบออนไลน์ และในส่วนของผู้ขายที่เป็นร้านค้าออนไลน์ โดยเฉพาะร้านค้าออนไลน์ ที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง ควรหันมาใส่ใจเรื่องของระบบการชำรเงินแบบออนไลน์ เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือแล้วยังสามารถช่วยให้เว็บไซต์ทำเงิน ให้เราได้ 24 ชั่วโมง เนื่องจากเว็บไซต์ของคุณพร้อมที่จะรับเงินจากลูกค้าได้ตลอดเวลา