เลือกใช้คีย์เวิร์ดอย่างไร ให้ปัง?

เป็นเทคนิคที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของท่านติดใน Search Engine อย่างเช่น Google หรือ Bing หรือ Yahoo ได้อย่างง่ายดาย เพียงแต่ท่านจะต้องทำความเข้าใจถึงเทคนิคง่ายๆ นี้ก่อน ซึ่งเทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่ผู้ให้บริการทำ SEO ทั่วไปใช้กัน (แต่เขาไม่บอกเรา)
ใส่ข้อมูลในระบบ Meta Tag ให้ครบทุกเพจ
วิธีการใส่ข้อมูล
Title Page คำแรกที่ใส่ควรเป็นคำหลักคำแรก ที่เราต้องการเน้น ในหน้านั้นๆ ยิ่งถ้า Title Page คำแรก ตรงกับหัวเรื่องในหน้านั้นแล้วยิ่งดี
Decription เป็น คำอธิบายเพื่อให้ผู้ที่ค้นหาเราเจอ ใน Search Engine ได้อ่าน ดังนั้นตรงส่วนนี้ควรเป็นคำบรรยายที่น่าสนใจ อธิบายถึงสิ่งที่เราต้องการนำเสนอที่อยู่ในหน้าดังกล่าว
Keywords คำแรกใช้วิธีเดียวกับ Title Page นั่นคือใส่คำหลักที่ต้องการเน้น ไว้แรกสุด จบแล้วคั่นด้วยเครื่องหมายคอมมา (,) แล้วเว้นวรรค 1 ครั้ง แล้วตามด้วยคำหลักคำต่อไป ... ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนครบคำหลักที่ต้องการจะใส่
เทคนิคการใช้คำหลักหรือ Keyword เพื่อให้ได้ผลสุดๆ
คำหลักที่ใช้ หรือ Keyword ไม่ควรสั้น หรือเป็นคำที่มีความหมายกว้างเกินไป เช่น ท่องเที่ยว, ทัวร์, เสื้อ, เสื้อยืด หรือ ของเล่นฯลฯ เป็นต้น เพราะเป็นคำกว้าง และมีการแข่งขันสูงเกินกว่าที่เว็บเปิดใหม่จะเข้าไปสู้ได้ และถึงจะติด ก็คงไม่ได้ช่วยเพิ่มยอดขาย เนื่องจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่โอกาสจะเป็นลูกค้าของเราจริงๆ นั้น เวลาจะค้นหาสิ่งที่เขาต้องการ ส่วนใหญ่เขาจะใช้วิธีค้นแบบเจาะลงไปมากว่าที่จะค้นแบบกว้างๆ เช่น กรณีที่ลูกค้าต้องการสั่งทำเสื้อยืด รับรองได้ว่าลูกค้าปกติจะไม่ใช้คำว่า "เสื้อยืด" ในการค้นหาแน่นอน เพราะสิ่งที่เขาได้จะเป็นขยะกว่า 95% ทำให้ต้องเสียเวลาแยกแยะข้อมูลที่จะนำมาใช้งาน เพื่อให้ตรงกับความต้องการ ดังนั้นความน่าจะเป็นในการใช้คำที่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายจะค้นหา คือ "บริการสั่งทำเสื้อยืด"
มุมมองในฐานะเจ้าของสินค้าหรือผู้ให้บริการ
เราในฐานะเจ้าของสินค้าหรือผู้ให้บริการ สิ่งที่เราต้องมองให้ออกคือ สินค้าหรือบริการของเรา มีจุดเด่น หรือมีคุณสมบัติพิเศษอะไรบ้าง หาเจอแล้วดึงคำนั้นออกมาใช้ เพื่อสร้างให้เป็นวลี เช่น ถ้าเราใช้คำว่า "ท่องเที่ยว" เป็นคำหลัก คงต้องรอไม่ต่ำกว่า 1 ปี เพื่อให้ติดหน้าต้นๆ (ไม่ใช่หน้าแรกนะครับ) แต่ถ้าเราเพิ่มคุณสมบัติพิเศษเข้าไปเช่น เราทำทัวร์เกี่ยวกับการเดินป่า เราก็ใช้คำว่า ท่องเที่ยวเดินป่า แบบนี้มีโอกาสเพิ่มขึ้น แต่ถ้าระบุลึกลงไปอีก เช่น "ท่องเที่ยวเดินป่า เชียงใหม่" แบบนี้รับประกัน 100% ติดหน้าแรก ไม่เกิน 3-5 อันดับแรก หรือ "ทัวร์เดินป่า เชียงใหม่" หรือ "ทัวร์ดอย เชียงใหม่" <-- เจาะจง ชัดเจน และตรงกลุ่ม นี่เป็นแค่ตัวอย่าง ลองไปประยุกต์ใช้กันตามสภาพสินค้า และบริการกันดูนะครับ
มุมมองในฐานะลูกค้า หรือกลุ่มเป้าหมาย
เพื่อให้การวิเคราะห์คำหรือวลี ที่จะใช้ในเว็บไซต์ของเราได้ผลยิ่งขึ้น เราจะต้องวิเคราะห์ด้วยว่า ถ้าเราเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งเป็นผู้ต้องการใช้สินค้าหรือบริการแบบที่เรามีอยู่ เขาจะใช้ไหนค้นหา เช่น คนจะไปเที่ยวเดินป่า คงไม่ค้นคำว่า ท่องเที่ยวเพื่อหาบริการ บริษัทที่ให้บริการเดินป่าแน่ (ถึงค้นก็คงเสียเวลามาก) ถ้าเขาต้องการซื้อเสื้อผ้าไซส์พิเศษ เขาจะค้นแบบไหน เพื่อค้นหาแล้วตรงกับสิ่งที่เขาต้องการมากที่สุด เช่น เสื้อผ้าคนอ้วน, เสื้อผ้าสำหรับคนอ้วน, เสื้อผ้าไซส์ XXXL (แยกละเอียดได้แบบนี้ จะช่วยเพิ่มคำค้นหาได้มากขึ้น นั่นหมายถึงโอกาสลูกค้าจะค้นพบคุณก็จะมากขึ้นด้วย) ซึ่งแต่ละคำ ถ้านำไปสร้างเพจใหม่ แล้วเน้นแต่ละคำ แล้วทำลิงค์เข้าไปหา ก็จะทำให้มีโอกาสติดทุกคำในอันดับดีๆ
การใช้คำที่เจาะจง เช่น "บริการสั่งทำเสื้อยืด", "บริการรับสั่งทำเสื้อยืด" หรือ "เสื้อผ้าสำหรับคนอ้วน" เป็นลักษณะของการใช้คำ นาม + คุณสมบัติพิเศษ คือ ไม่ได้ใช้แค่คำๆ เดียว แต่มีลักษณะพิเศษเข้าไปด้วย เราจะเรียกว่า วลี ซึ่ง การใช้วลี เพื่อเป็น Keywords ในการค้นหาจะดีกว่าการใช้คำโดดๆ คือ ตรงกลุ่มเป้าหมายมากกว่า การแข่งขันน้อย มีโอกาสติดหน้าแรก อันดับแรกๆ ได้ง่ายกว่า ช่วยประหยัดค่าโฆษณาได้สูง